เมนู

อภิธรรมภาชนีย์


[99]

อายตนะ 12 คือ


1. จักขายตนะ
2. โสตายตนะ
3. ฆานายตนะ
4. ชิวหายตนะ
5. กายายตนะ
6. มนายตนะ
7. รูปายตนะ
8. สัททายตนะ
9. คันธายตนะ
10. รสายตนะ
11. โผฏฐัพพายตนะ
12. ธรรมายตนะ.

[100] ในอายตนะ 12 นั้น จักขายตนะ เป็นไฉน ?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ* นี้เรียกว่า บ้าน
ว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ.
โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นไฉน ?
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง
บ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ.
* ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณี ข้อ (516) เป็นลำดับไป

มนายตนะ เป็นไฉน ?
มนายตนะหมวดละ 1 คือ มนายตนะเป็นผัสสัมปยุต. มนายตนะ
หมวดละ 2 คือ มนายตะ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. มนายตนะหมวดละ
3 คือ มนายตนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ1 มนายตนะ
หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ.
รูปายตนะ เป็นไฉน ?
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ2 นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง
นี้เรียกว่า รูปายตนะ.
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่าโผฏฐัพพาธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
ธรรมายตนะ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้
นับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ.
ในธรรมายตนะนั้น เวทนาขันธ์เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์หมวดละ 1 คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ เวทนา-
ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?
สัญญาขันธ์หมวดละ 1 คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ สัญญา
ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.
สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?
1. ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (74) เป็นลำดับไป
2. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณี ข้อ (521)

สังขารขันธ์หมวดละ 1 คือ สังขารขันธ์เป็นจิตสัมปยุต ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.
รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ เป็นไฉน ?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้กระทบ
ไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ.
อสังขตธาตุ เป็นไฉน ?
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมายตนะ.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอายตนะทั้งหลายไว้ (ในสุตตันตภาชนีย์)
ในหนหลัง โดยความเป็นอายตนะคู่ว่า จกฺขายตนํ รูปายตนํ (จักขายตนะ
รูปายตนะ) ดังนี้เป็นต้น เพื่อประสงค์ทรงอุปการะพระโยคาจรทั้งหลาย
ผู้เจริญวิปัสสนา ฉันใด ในอภิธรรมภาชนีย์ มิได้ตรัสเหมือนอย่างนั้น เพื่อ
ทรงประสงค์จะแสดงสภาวะแห่งอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก โดย
อาการ (ลักษณะ) ทั้งปวง จึงตรัสโดยนัยแห่งการกำหนดอายตนะภายในและ
ภายนอก อย่างนี้ว่า จกฺขุวายตนํ โสตายตนํ (จักขวายตนะ และโสตายตนะ)
ดังนี้เป็นต้น.